วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

การจัด เรตของภาพยนตร์

การจัด เรตของภาพยนตร์ (Film Ratings) เป็นการจัดระดับตามตามเนื้อหาและฉากของ ภาพยนตร์ จุดประสงค์เพื่อกำหนดความเหมาะสม ของการเข้าชมภาพยนตร์สำหรับ เด็กและเยาวชน แต่ละประเทศมีลักษณะมาตรฐานวิธีจัดแบ่งแตกต่างกันไป ในปัจจุบัน ที่เป็นสากลและได้รับการยอมรับมากที่สุดคือ มาตรฐานของสหรัฐอเมริกา

การจัดระดับภาพยนตร์เอ็มพีเอเอ


ตาม ระบบการจัดระดับภาพยนตร์เอ็มพีเอเอ (MPAA film rating system) โดย สมาคมภาพยนตร์อเมริกัน(Motion Picture Association of America) ดังจะสามารถพบเห็น การกำหนดเรตได้ตามเว็บไซต์ภาพยนตร์ อย่างเห็นได้ชัด ระดับภาพยนตร์ หรือเรตภาพยนตร์ ได้แก่

เรต จี ( G = General )

อนุญาตให้ทุกคนเข้าชมได้
ตัวอย่าง.. Finding Nemo, The Lion King,Madagasgar, A bug's Life, The Prince of Egypt
ตัวอย่างภาพยนตร์ไทยและเอเชีย (ถ้ามีการจัดเรต) คาดว่า เช่น.. ก้านกล้วย

เรต พีจี ( PG = Parental Guidance )

            อนุญาตให้ทุกคนเข้าชมได้ แต่แนะนำให้ เด็กและเยาวชน มีผู้ใหญ่ร่วมชมและคอยให้คำแนะนำ                          เพราะเนื้อหาบางส่วน อาจ ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก
ตัวอย่าง.. Shrek, Harry Potter,
ตัวอย่างภาพยนตร์ไทยและเอเชีย (ถ้ามีการจัดเรต) คาดว่า เช่น.. เพื่อนสนิท, แฟนฉัน

เรต พีจี-13 ( PG-13 = Parental Guidance-13 )

อนุญาตให้ทุกคนเข้าชมได้ แต่ เด็กต่ำกว่า 13 ปี ต้องมีผู้ใหญ่ร่วมชมและคอยให้แนะนำ เพราะเนื้อหาบางส่วน ไม่เหมาะสำหรับเด็กเล็ก
ตัวอย่าง.. Batman Begins, Star Wars, Titanic, Spiderman, James Bond 007 
ตัวอย่างภาพยนตร์ไทยและเอเชีย (ถ้ามีการจัดเรต) คาดว่า เช่น.. มนุษย์เหล็กไหล, องค์บาก, บางระจัน,แก๊งชะนีกับอีแอบ

เรต อาร์ ( R = Restricted )

เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 17 ปี จะเข้าชมได้ ต่อเมื่อมีผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ไปด้วยเท่านั้น ห้ามเข้าชมเพียงลำพัง เนื่องจากเนื้อหาประกอบไปด้วย ความรุนแรง ภาพสยดสยอง ภาษาไม่เหมาะสม หรือเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ
ตัวอย่าง.. Kill Bill, The Matrix, Troy, Resident Evil, Hannibal, The Passion Of Christ
ตัวอย่างภาพยนตร์ไทยและเอเชีย (ถ้ามีการจัดเรต) คาดว่า เช่น.. เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ เดอะมูฟวี่, สองคน สองคม, วิ่งสู้ฟัด, เดชคัมภีร์เทวดา

เรต เอ็นซี-17 ( NC-17 = No one 17 and under admitted )

ไม่อนุญาตให้ เด็กอายุต่ำกว่า 17 ปี เข้าชม โดยเด็ดขาด เพราะภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น
ตัวอย่าง.. Saw, The Dreamer, The Brow Bunny, Last Tango In Paris, The Rule Of Attraction
ตัวอย่างภาพยนตร์ไทยและเอเชีย (ถ้ามีการจัดเรต) คาดว่า เช่น.. 13 เกมสยอง, รับน้องสยองขวัญ

ภาพยนตร์ที่ยังไม่ได้กำหนดเรต

จัดให้เป็น เอ็นอาร์ (NR = Not Rated) หรือข้อความว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังไม่ได้กำหนดเรต (This film is not yet rated) อย่างไรก็ตาม ระดับนี้ ไม่นับเป็นระดับเรตอย่างเป็นทางการของสมาคมภาพยนตร์อเมริกัน



แม้ไม่มีกำหนดตายตัวด้านเนื้อหา เพื่อแบ่งระดับเรตภาพยนตร์ แต่มีข้อสังเกตโดยย่อดังนี้

§  เรต PG-13 ถือเป็นระดับกลาง บรรดาผู้จัดจำหน่ายฯ จึงต้องการให้ภาพยนตร์รักษาไม่ให้เกินจากระดับนี้
ด้วยเหตุผลทางการตลาด ให้ภาพยนตร์เข้าถึงกลุ่มคนวงกว้างที่สุด หากผู้จัดฯ เสนอต่อองค์กรฯ เพื่อจัดแบ่งเรต (ก่อนนำภาพยนตร์ออกฉาย) แล้วได้เรตสูงกว่านี้ ทางผู้จัดฯ อาจถึงกับดำเนินการตัดต่อ เพื่อขอจัดเรตใหม่ ก็ได้
§  คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า เรต R หมายถึง โป๊
แต่แท้จริง ยังรวมถึงฉาก น่ากลัวสยองขวัญ , การต่อสู้หรือทำร้ายรุนแรง (ทำร้ายกันง่ายๆ หน้าเบี้ยว เลือดสาด อวัยวะกระจาย) , การใช้คำแสลงคำหยาบคาย, การใช้ยาเสพติด, การลักพาตัว, เนื้อหาที่อาจก่อความเข้าใจผิดทางศาสนา ความเชื่อ เชื้อชาติ การเมือง, เนื้อหาที่ขัดต่อศีลธรรม แต่มีบทสรุปถึงความถูกต้อง
§  ถ้ามีคำหยาบคายคายไม่เกินสามคำ และไม่มีบทโป๊หรือเปลือย มักถูกจัดอยู่ใน เรต PG-13 ,
ถ้ามีคำหยาบคายเกินสามคำ มักถูกจัดอยู่ใน เรต R
§  ถ้ามีเนื้อหาอ้างอิงเกี่ยวกับยาเสพติด มักถูกจัดอยู่ใน เรต PG-13 ,
ถ้ามีฉากในการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนยาเสพติด มักถูกจัดอยู่ใน เรต R
§  ถ้ามีฉากโป๊เปลือยของผู้หญิง มักถูกจัดอยู่ใน เรต R ,
ถ้ามีฉากโป๊เปลือยของผู้ชาย อาจถูกจัดอยู่ใน เรต R หรือ เรต NC-17
§  เรต NC-17 จัดเป็นเรตต้องห้าม ถ้าไม่โป๊หรือโหดร้ายที่สุดก็ไม่ถึงกับถูกจัดเข้าเรตนี้ ส่วนใหญ่เน้นหนักภาพยนตร์โป๊เสียมาก
เนื้อหาคล้าย เรต R แต่รุนแรงกว่าหลายเท่า สังเกตว่าโครงเรื่องโดยตรง หรือมีเนื้อหาเข้าข่ายเกินครึ่งเรื่อง เช่นเนื้อหาที่ขัดต่อศีลธรรม ซึ่งไม่มีบทสรุปถึงความถูกต้อง

ประเทศไทย

ส่วนของไทยเพิ่งจะมีการประกาศใช้พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2551 ที่ผ่านมานั้น ได้เปลี่ยนจากระบบ เซ็นเซอร์” “ภาพยนตร์” (รวมทั้ง หนัง สารคดี ละคร ที่อาจอยู่ในรูปของหนังที่ฉายในโรงหนังหรือฟิล์ม และหนังแผ่นประเภทดีวีดี วีซีดี ซีดีรอม) มาเป็นการจัด เรตติ้งโดยกำหนดภาพยนตร์ไว้ 7 ประเภทคือ
1.         ภาพยนตร์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้และควรส่งเสริมให้มีการดู
2.         ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้ดูทั่วไป
3.         ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่13 ปีขึ้นไป
4.         ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่15 ปีขึ้นไป
5.         ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่18 ปีขึ้นไป
6.         ภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า20 ปีดู (ยกเว้นผู้บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส)
7.         ภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร
ทั้งนี้โดยมีคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์เป็นผู้ตรวจพิจารณาและกำหนดประเภทภาพยนตร์ว่าอยู่ในประเภทไหน

จัดเรตหนังของไทย ละเมิด จำกัดสิทธิ์เด็กไทยไหม

เป็นประเด็นที่ร้อนแรงไม่แพ้เรื่องของการเมืองเลยทีเดียวนะครับ  สำหรับประเด็นในเรื่องการจัดเรตของภาพยนตร์ ซึ่งขณะนี้นั้นมีทั้งคำติชม ไม่พอใจ สงสัย วิพากวิจารณ์หรือแม้แต่กระทั้งการตั้งกระทู้ด่ากันว่อนเน็ตเลยทีเดียว      
ถ้าท่านได้ติดตามข่าวสารตามสื่อต่างๆในหลายประเภท  ท่านคงทราบแล้วว่าเมื่อหลายวันก่อนที่ประชุม  ครม.        ได้ออกกฎพระราชบัญญัติในเรื่องการจัตเรตหนังประเภทต่างๆของหนังมี 7 อย่าง 7  ประเภทด้วยกัน มีดังนี้
1.ภาพยนตร์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้และควรส่งเสริมให้มีการดูจะใช้สัญลักษณ์
2.ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้ดูทั่วไป ใช้
3.ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป ใช้ 13+”
4.ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ใช้ 15+”
5.ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ใช้ 18+”
6.ภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีดู
ยกเว้นผู้บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส ใช้ 20+”
7.ภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักรไทย จะใช้สัญลักษณ์ ” 

ซึ่งทั้ง  7 ข้อนี้เท่าที่ผมอ่านดูตามอินเตอร์เน็ตแล้วบางข้อเห็นด้วย แต่บางข้อคนก็ยังสงสัยอยู่เหมือนกันว่าที่ทำมาทั้งหมดนี้มันสามารถแก้ปัญหาได้จริงหรือที่พยายามไม่เด็กดูบางฉากที่ไม่เหมาะสมฉากความรุนแรง แม้แต่ฉากภาพที่โป้เปลือย การมีเพศสัมพันธ์ที่เร้าร้อน
 เห็นอวัยวะเพศ รวมทั้งเห็นก้น ภาพข้างหลังทั้งชาย หญิง  ในบางครั้งผมเองคิดว่ามันจำกัดสิทธิ์เด็กมากไป ไม่ให้เด็กได้รับรู้ข่าวสารตามที่เขาต้องการที่จะเรียนรู้  แต่บางท่านมองว่ามันคุกคามสิทธิมนุษยชนมากไปไม่ให้โอกาสในการชมภาพยนตร์อย่างอิสระเสรีทั้งๆที่โลกทุกวันนี้โลกมันไปไกลมากแล้ว
อย่างเรต  “ 18 + “ ผมว่ามันจำกัดขอบเขตมากไป ทั้งที่เด็กอายุ 18 ปี ในทางกฎหมายก็สามารถที่จะร่วมกำหนดชะตาประเทศ เลือกตั้งผู้แทน ส.ส. ส.ว.รวมทั้งแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้แล้ว  เรื่องบางเรื่องเด็ก 18  เองเค้าน่าที่จะตัดสินใจ มีความคิด แยกแยะ ความถูก ผิดรู้ว่าอันไหนควรไม่ควร อันไหนทำได้ ทำไม่ไม่ได้ ถึงบางเรื่องที่ดูไม่ได้ในโรงหนัง ก็สามารถที่จะโหลดหนังเรื่องนั้นมาดูได้เหมือนกัน ผมว่ายิ่งปิดกั้น เด็กนั้นยิ่งแสวงหาเพื่อให้ได้มาไม่ว่าด้วยวิธีไหนก็ตาม  
 อย่างนี้ท่านที่ดูแลด้านไอทีต้องมาบล็อกเว็บไซด์ไหมล่ะครับนี้  แต่พอมามองในด้านฐานะความเป็นพ่อ  แม่นั้นผมก็เห็นด้วยที่จะมีการจัดเรตหนังแบ่งแยกให้มันแน่ชัดไปเลยว่าเด็กควรดู ควรอยู่ในกลุ่มไหน  เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติเดียวกันทั่วประเทศเพราะบางครั้งตัวเด็กเองแก่แดดก่อนวัย  พอเริ่มมีความรู้สึกทางเพศนิดหน่อยก็อยากที่จะลองของเสียแล้ว  โดยวิธีที่ผิดๆ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ บางครั้งมันมีสิ่งที่ตามมาอาจท้องชอบใช้ความรุนแรง ลัก จี้ ชิง ปล้นเป็นปัญหาสังคมอีกมากมาย
            สรุปเอาเป็นว่าที่เล่ามาทั้งหมดบางข้อผมเองเห็นด้วย แต่บางข้อผมเองก็คิดว่ามันจำกัดสิทธิ์เด็กเค้ามากเกินไปยังไงก็แล้วแต่ผมขอให้สังคม  ประเทศชาติสงบสุขแล้วกันครับ

1 ความคิดเห็น: