วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

กลยุทธ์ทางการตลาดในภาพยนตร์

กลยุทธ์ทางการตลาดในภาพยนตร์



ทุกวันนี้ไม่ว่าเราจะขยับตัวไปที่ไหน เรามักจะเห็นโฆษณาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถโดยสาร อาคารบ้านเรือน ตึกห้างร้านต่างๆ บนรถไฟฟ้า จนไปถึง ใบปลิวตามตู้โทรศัพท์ แทบเรียกได้ว่าจะทุกที่ที่มีคนอยู่ และ อีกหนึ่งช่องทางการตลาดที่สำคัญคงจะหนีไม่พ้นธุรกิจภาพยนตร์ที่ถือว่าได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

ซึ่งทุกท่านคงจะทราบกันดีว่าภาพยนตร์นั้นเป็นสิ่งที่สร้างความบันเทิง ความเพลิดเพลินใจให้กับทุกคนๆ มาตั้งแต่สมัยอดีตที่ยังเป็นภาพขาวดำ จวบจนถึงปัจจุบันที่ได้พัฒนากลายไปเป็น 3 D แล้วก็ยังถือว่าได้รับความนิยมจากบุคคลต่างๆ และ ยิ่งจะได้รับ ความนิยมมากขึ้นทุกวัน ที่กลายเป็นกิจกรรมยามว่างอย่างหนึ่งที่ทุกคนจะต้องทำ

จากสถิติการชมภาพยนตร์ที่มากขึ้นทุกปี ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งได้เล็งเห็นประโยชน์ และ ช่องทางโฆษณาแบรนด์สินค้าของตัวเอง โดยนำแบรนด์สินค้าตัวเองเข้าไปอยู่ในภาพยนตร์ ให้นักแสดงได้สวมใส่เข้าฉากในภาพยนตร์ เสมือนนักแสดงเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับสินค้าของตน ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นการโฆษณาแอบแฝงที่ไม่ได้บอกชัดแจ้งว่าเป็นการโฆษณา


ผมจะขอยกตัวอย่างฉากในภาพยนตร์เรื่อง “หน่วยสกัดอาชญากรรมล่าอนาคต” (Minority Report) ตัวเอกของเรื่องได้ใช้สินค้ายี่ห้อหนึ่งที่มีแบรนด์บอกสินค้าชัดเจน ในเรื่อง “ทอม ครูซ” ผู้รับบทเป็น “จอห์น แอนเดอร์สัน” ใช้โทรศัพท์มือถือยี่ห้อ “โนเกีย” ที่แสดงยี่ห้อไว้ชัดเจน และใช้นาฬิกายี่ห้อ ”Bvlgari”


จากเรื่อง “ไอ โรบอท พิฆาตแผนจักรกลเขมือบโลก” พระเอกของเรื่องพูดถึงรองเท้ายี่ห้อ “Converse” ของเขาอยู่หลายครั้ง

นอกจากนั้นก็มีบริษัทผู้ผลิตรถยี่ห้อ “คาดิลแลค”ได้เลือกโฆษณากับภาพยนตร์เรื่อง “The Matrix Reloaded” ทำให้ในหนังเรื่องนี้มีรถคาดิลแลคปรากฏอยู่ในเรื่องหลายฉาก


หรือภาพยนตร์คลาสสิคของฮอลลีวู้ดอย่างเรื่อง “Back to the Future” ที่ออกฉายในยุค 80โดยพระเอกของเรื่องได้ใส่ร้องเท้า “Nike” รุ่น pump



ซึ่งหลังจากที่ภาพยนตร์เข้าฉายก็ทำให้เกิดกระแสความต้องการร้องเท้า Nike รุ่นนี้อย่างมาก ทำให้ผลิตกันแทบไม่ทันเลยทีเดียว ดังนั้นการเสพสื่อต่างๆ รวมถึงภาพยนตร์ก็ต้องใช้วิจารณญาณตามความเหมาะสมกันด้วยนะครับ

เพราะสื่อต่างๆ เหล่านี้มักจะมีโฆษณาแอบแฝงมาด้วย อย่างไรก็ตามก็ขอให้ทุกท่านคิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าอะไรนะครับ มิฉะนั้นอาจผิดหวังจากสินค้าที่เราได้ซื้อมาได้เพราะไม่ได้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าจากสินค้านั้น แต่ซื้อเพราะความรู้สึกชื่นชอบตามกระแสนิยมเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น